3 ธันวาคม 2557

Published ธันวาคม 03, 2557 by with 1 comment

อาร์เรย์ (array) เบื้องต้นใน Python

  อาร์เรย์ (array) เป็นข้อมูลชนิดหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูล แต่ว่า Python ไม่สนับสนุนอาร์เรย์ชนิดนี้โดยตรง จึงต้องใช้ชนิดข้อมูลที่เรียกว่ารายการ ซึ่งเกือบเหมือนกับอาร์เรย์ แต่สามารถเข้าถึงได้เพียงหนึ่งดัชนี


อาร์เรย์ 1 มิติ

ใน Python จะมีรูปแบบดังนี้ [1,2,3,4,5,6]
a = [1,2,3,4,5,6]
print(a[2])

จะได้ผลลัพธ์ คือ 3 จะเห็นได้ว่าใน python จะนับอาร์เรย์ตัวที่ 1  เป็น 0 ไล่ไปเรื่อย ๆ
หากต้องการจำนวน 3 ถึง 5 ใช้คำสั่ง
print(a[2:5])

ผลลัพธ์จะได้ [3, 4, 5]
ถ้าต้องการค่าข้อมูลบนอาร์เรย์ ตามตำแหน่งคอลัมน์
print(a[5:])

จะได้ผลลัพธ์ [6]
ต่อมาเราจะเปลี่ยนค่าข้อมูลในอาร์เรย์กันครับ
เช่น a[5] จากเดิมเป็น  [6] หากใช้คำสั่ง
>>a[5] = 11
>>print(a[5:])
[11]

จะเห็นได้ว่าข้อมูลใหม่จะทับข้อมูลเก่า ข้อมูลเก่าจะหายไปเป็นไปตามหลักการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
หากใช้คำสั่ง print(a[:]) คือแสดงอาร์เรย์ทั้งหมดออกมา
>>> print(a[:])
[1, 2, 3, 4, 5, 11]

อาร์เรย์ 2 มิติ

อาร์เรย์ 2 มิติมีการจัดเรียงข้อมูลในแถว  / คอลัมน์ สามารถเปรียบเทียบได้กับเมทริกซ์ในคณิตศาสตร์
ใน Python อาร์เรย์ 2 มิติ จะมีรูปแบบเป็น [[1, 2], [3, 4]]
b = [[1, 2], [3, 4]]

ถ้าเป็นรูปแบบเมทริกซ์ในคณิตศาสตร์จะเป็น
b =  [1, 2]
       [3, 4]
หากต้องการดึงข้อมูลมาใช้จากอาร์เรย์ 2 มิติ ใช้คำสั่งดังนี้ เช่น
>>> b = [[1, 2], [3, 4]]
>>> print(b[0][0])
1

แถวที่ 1 หลักที่ 1 คือ 1
>>> print(b[0][1])
2

แถวที่ 1 หลักที่ 2 คือ 2
>>> print(b[1][0])
3

แถวที่ 2 หลักที่ 1 คือ 3 
>>> print(b[1][1])
4

แถวที่ 2 หลักที่ 2 คือ 4
หากต้องการแสดงทั้งแถวและคอลัมน์ใช้คำสั่ง
>>> print(b[0:][0:])
[[1, 2], [3, 4]]

หากต้องการเฉพาะแถวที่ 1 ใช้คำสั่ง
>>> print(b[0][0:])
[1, 2]

อาร์เรย์ 3 มิติ

มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับที่ผ่านมา แต่มีอาร์เรย์เพิ่มอีกมิติ ตัวอย่างเช่น
[[[1, 2, 3], [4, 5, 6], [7, 8, 9]],
 [[10, 11, 12], [13, 14, 15], [16, 17, 18]],
 [[19, 20, 21], [22, 23, 24], [25, 26, 27]]]
การนำไปใช้งาน
>>> d = [[[1, 2, 3], [4, 5, 6], [7, 8, 9]],
 [[10, 11, 12], [13, 14, 15], [16, 17, 18]],
 [[19, 20, 21], [22, 23, 24], [25, 26, 27]]]
>>> d[0][1]
[4, 5, 6]
>>> d[0][1][2]
6


หากต้องการคำนวณมากกว่านั้น แนะนำให้ใช้โมดูล numpy แทนดีกว่าครับ
ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้ครับ
ติดตามบทความต่อไปนะครับ
*แก้ไขครั้งที่ 1 ขอขอบคุณพี่ วอน นอน คุก ครับ
ขอบคุณครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นตัวอย่างที่ดีมากคับเเต่ถ้ามีจำเเนกให้ดูง่ายว่า นับยังไงใน อาร์เรย์ 3 มิติ น่าจะเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับคนที่เริ่มต้นครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็นได้ครับ :)