5 กรกฎาคม 2557

Published กรกฎาคม 05, 2557 by with 0 comment

การแสดงผลข้อมูลใน Python 3

สวัสดีครับ บทความนี้จะพูดถึงเรื่อง "การแสดงผลข้อมูลใน Python 3" การแสดงผลข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้รู้ผลลัพธ์จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีการแสดงผลการทำงานของโปรแกรม การที่เขียนโปรแกรมนั้นจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้

รูปแบบการแสดงผลข้อมูลใน Python 3

print(*objects, sep=' ', end='\n', file=sys.stdout, flush=False)
objects คือ วัตถุ
sep คือ การแยก
end คือ การขึ้นบรรทัดใหม่

ตัวแทนชนิดของข้อมูล

%s - สตริง เช่น ข้อความ
%d - จำนวนเต็ม
%f - เลขทศนิยม
%.<number of digits>f - เลขทศนิยมมีจำนวนคงตัวเลขทางด้านขวาของจุดทศนิยม
%x/%X - จำนวนเต็มใน hex แทน (พิมพ์เล็ก/ใหญ่)


ตัวอย่างการแสดงผลข้อมูลใน Python 3

ตัวอย่างที่ 1
print("Hello World")
ผลลัพธ์
Hello World
อธิบาย ตัวอย่างนี้แสดงข้อความที่กำหนดออกมาทางจอภาพเท่านั้น ไม่มีการแสดงข้อมูลอื่นเพิ่มเติม
ตัวอย่างที่ 2
print ("1+1 = %d" % (2))
ผลลัพธ์
อธิบาย ในตัวอย่างนี้มีการใช้ String Formatting ในแบบข้อความผสมกับตัวแทนชนิดข้อมูล มีการรับค่าคงที่เข้า คือ 2 เข้ามาแทนที่ตัวแทนชนิดข้อมูลในประโยค
ตัวอย่างที่ 3
num = 100

print ("%d/2" % (num))
ผลลัพธ์
100/2
อธิบาย ในตัวอย่างนี้มีการใช้ String Formatting ในแบบข้อความผสมกับตัวแทนชนิดข้อมูล โดยมีการเรียกใช้ตัวแปรเข้ามาแทนที่ตัวแทนชนิดข้อมูล
ตัวอย่างที่ 4
print ("Are you ok?","\n")
ผลลัพธ์
อธิบาย ในตัวอย่างนี้แสดงข้อความที่กำหนดออกมาทางจอภาพเท่านั้น และขึ้นบรรทัดใหม่โดยใช้ \n

หากเราต้องการแสดงข้อมูลซ้ำ

print (ข้อความหรือตัวแปร*จำนวนที่ต้องการแสดงซ้ำ)
ตัวอย่างเช่น
 print ("Hello, World!"*5)
ผลลัพธ์
>>> print ("Hello, World!"*5)
Hello, World!Hello, World!Hello, World!Hello, World!Hello, World!

ปรับปรุงครั้งที่ 1 วันที่ 7 กันยายน ค.ศ.2014
ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นได้ครับ :)