25 ตุลาคม 2558

Published ตุลาคม 25, 2558 by with 0 comment

แนวทางศึกษาก่อนลงมือทำแอพ Android กับภาษาไพทอน

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน หลังจากที่บทความทั้งสอง ได้เผยแพร่ออกไป มีผู้สนใจจำนวนมากและมีคำถามว่า มีแนวทางศึกษาการทำแอพ Android ด้วยภาษาไพทอนอย่างไร ผมขอยกกรณีวิธีการศึกษาของผมเองมาครับ




อ่านบทความการทำแอพ Android ด้วยภาษาไพทอนทั้งหมดได้ที่ https://python3.wannaphong.com/tag/android

แนวทางศึกษาก่อนลงมือทำแอพ Android กับภาษาไพทอน


เริ่มแรก ศึกษาไวยากรณ์ภาษาไพทอนก่อน มาได้ระดับที่เข้าใจรูปแบบและไวยากรณ์ ไลบรารีภาษาไพทอนพื้นฐาน และสามารถใช้งานโมดูลต่าง ๆ โดยนำไปใช้งานจริงได้




สอง จากบทความก่อน ๆ ผมได้แนะนำวิธีการติดตั้ง sl4a + python-for-android สำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาไพทอนบน Android แต่วิธีนั้นยุ่งยากเกินไป ผมจึงขอแนะนำ QPython

QPython เป็นแอพ Android ที่ช่วยให้สามารถเขียนและรันโค้ดภาษาไพทอนใน Android ได้
QPython เป็น Python 2 for Android โหลดได้ที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.hipipal.qpyplus
QPython 3 เป็น Python 3 for Android โหลดได้ที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.hipipal.qpy3




สาม ลองศึกษาการใช้งาน โมดูล android

[python]import android[/python]

จากเอกสารนี้  เอกสาร https://code.google.com/p/python-for-android/w/list และ wiki.qpython.org แล้วลองเขียนแอพกับ QPython




สี่ ศึกษาการใช้งาน Android Studio และ Android SDK <http://developer.android.com/tools/studio/index.html> รู้จักกับการตั้งค่าคอมไพเลอร์และลองคอมไพล์ไฟล์ตัวอย่างการเขียนแอพบน Android (เป็น java หรือภาษาอะไรก็ได้) แล้วนำไปลองรันจริง ลองปรับแต่ง ศึกษาการออกแบบ GUI ของ Android การกำหนดสิทธิ์ของแอพ แล้วลงมือเขียนแอพ Android ด้วยภาษาไพทอนตามบทความทั้งสองได้เลยครับ

อ่านบทความการทำแอพ Android ด้วยภาษาไพทอนทั้งหมดได้ที่ https://python3.wannaphong.com/tag/android




 
คำถาม
Q : การใช้ภาษาไพทอนพัฒนาแอพ Android เหมาะสมแล้ว ?
A : ผมขอตอบว่าแล้วแต่ดุลยพินิจครับ บทความในบล็อกนี้ผมทำเพื่อแสดงให้เห็นว่าภาษาไพทอนทำแอพ Android ได้เหมือนกันครับ

Q : ถ้าไม่ใช่ sl4a + python for android ตามบทความ แล้วมีตัวอื่นทำได้ไหม
A : มีครับ ใช้เครื่องมือของ kivy สามารถคอมไพล์เป็นแอพ Android ได้เหมือนกัน แต่ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ Python 2 และใช้งานได้เฉพาะบนยูนิกส์ (OS X , Linux) เท่านั้นครับ (รองรับ Python 3 เมื่อไรจะเขียนบทความมาให้อ่านกันอีกครับ)

ติดตามบทความต่อไปนะครับ

ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นได้ครับ :)