28 กรกฎาคม 2558

Published กรกฎาคม 28, 2558 by with 0 comment

เคมีกับภาษาไพทอน : ข้อมูลของธาตุในตารางธาตุ

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับ บทความชุด "เคมีกับภาษาไพทอน" นี้ จะพาผู้อ่านไปเปิดโลกสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ นั้นคือ วิชาเคมี โดยความรู้ในสาขาวิชาเคมีในการประยุกต์เข้ากับภาษาไพทอน ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ยอดฮิตในวงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (ในต่างประเทศ) ครับ

ตารางธาตุ คือ ตารางที่จัดเรียงธาตุที่มีคณสมบัติเดียวกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาธาตุเคมี

ตารางธาตุที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้ปรับปรุงมาจากตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ โดยเรียงตามลำดับเลขอะตอมแทนการเรียงตามมวลอะตอม และทางองศ์การนานชาติทางเคมี (IUPAC) ได้กำหนดหมู่ธาตุให้ใช้ระบบตัวเลขอารบิเป็นหลักครับ

  • เลขมวล คือ จำนวนโปรตอน บวกกับ จำนวนนิวตอน

  • เลขอะตอม คือ จำนวนอิเล็กตรอน หรือ จำนวนโปรตอน

  • ไอโซโทป คือ ธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน


ในภาษาไพทอนได้มีนักพัฒนาได้พัฒนาโมดูลสำหรับใช้ถึงคุณสมบัติของธาตุในตารางธาตุ ขอแนะนำโมดูล mendeleev

โมดูล mendeleev เป็นโมดูลฐานข้อมูลของธาตุในตารางธาตุ โดยสามารถให้ข้อมูลมวลอะตอม เลขมวล และข้อมูลอื่น ๆ จำนวนมาก เช่น isotopes ของธาตุนั้น ๆ ช่วยให้การคำนวณทางเคมีเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
รองรับทั้ง Python 2 และ Python 3
ใช้ License: MIT

สามารถติดตั้งได้โดยใช้คำสั่ง pip :
pip install mendeleev

การใช้งาน
ในการใช้งานต้อง

[python]from mendeleev import element[/python]

เข้ามาครับ
ในการเรียกข้อมูลธาตุ ใช้คำสั่ง

[python]element('สัญลักษณ์ธาตุ')[/python]

สามารถอ่านเอกสารหลักได้ที่ https://pypi.python.org/pypi/mendeleev/

ตัวอย่างการใช้งาน
ถ้าผมต้องการหามวลอะตอม เลขมวล และไอโซโทปของออกซิเจน

[python]
>>> from mendeleev import element
>>> O = element('O') #ดึงข้อมูลของธาตุออกซิเจน
>>> O.name # ชื่อธาตุ
'Oxygen'
>>> O.atomic_number # เลขมวล
8
>>> O.mass # เลขอะตอม
15.9994
>>> for iso in O.isotopes:
... print(iso) # แสดงไอโซโทปของออกซิเจน
...
8 15.99491 99.76% 16
8 16.99913 0.04% 17
8 17.99916 0.21% 18
>>> O
Element(
annotation='density(@ -183C), ',
atomic_number=8,
atomic_radius=None,
atomic_volume=14.0,
block='p',
boiling_point=90.19,
covalent_radius=73.0,
density=1.149,
description="A colourless, odourless gaseous element belonging to group
16 of the periodic table. It is the most abundant element present in the earth's
crust. It also makes up 20.8% of the Earth's atmosphere. For industrial purpose
s, it is separated from liquid air by fractional distillation. It is used in hig
h temperature welding, and in breathing. It commonly comes in the form of Oxygen
, but is found as Ozone in the upper atmosphere. It was discovered by Priestley
in 1774.",
dipole_polarizability=5.24,
econf='[He] 2s2 2p4',
electron_affinity=1.461112,
electronegativity=3.44,
evaporation_heat=None,
fusion_heat=None,
group_id=16,
lattice_constant=6.83,
lattice_structure='CUB',
mass=15.9994,
melting_point='54.8',
name='Oxygen',
period=2,
specific_heat=None,
symbol='O',
thermal_conductivity=0.027,
vdw_radius=152.0,
)
[/python]

ขอให้สนุกกับวิชาเคมีกันนะครับ
ติดตามบทความต่อไปนะครับ
ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นได้ครับ :)